ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:หน้าหลัก"
แถว 19: | แถว 19: | ||
1a1hJzP9M5QtEnp2fdp6LwNSRc1DjJaaEoXy3Fv_DY6E | 1a1hJzP9M5QtEnp2fdp6LwNSRc1DjJaaEoXy3Fv_DY6E | ||
+ | |||
+ | <iframe src="https://docs.google.com/presentation/d/e/2PACX-1vQ36jfwEeQSRHEKEk7_OGcnb55ZetNa1ybTtxvju8UwSbVGju1koyjvo-fo3tIhPvyt374vD6nCBAWc/embed?start=false&loop=false&delayms=3000" frameborder="0" width="960" height="569" allowfullscreen="true" mozallowfullscreen="true" webkitallowfullscreen="true"></iframe> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:59, 9 เมษายน 2564
1. การตั้งค่าการสอบแบบ Sequential Navigation ระบบจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ที่ใช้อยู่เป็นซอฟต์แวร์ แบบ Open-source ชื่อว่า Moodle ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งในโลกรวมทั้งประเทศไทยใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง ระบบมีประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและการวัดผล รองรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ รองรับการวัดและประเมินผลได้หลายรูปแบบ อีกทั้งมีการบันทึกข้อมูลการใช้งานระบบโดยละเอียด สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบดังกล่าวรองรับข้อสอบหลากหลายรูปแบบเช่น ข้อสอบอัตนัย ข้อสอบปรนัย การเติมคำ การจับคู่ การลากวาง รวมทั้งสิ้น 15 รูปแบบ โดยมี 14 รูปแบบ ที่ระบบสามารถตรวจคำตอบให้ได้ นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดให้สุ่ม สลับลำดับข้อสอบเพื่อให้เกิดความซับซ้อน สำหรับผู้สอบแต่ละคน นอกจากนี้อาจารย์ผู้ออกข้อสอบสามารถกำหนด Navigation ในการสอบ ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ Free และ Sequential Navigation Free Navigation ผู้เข้าสอบสามารถมองเห็นลำดับข้อสอบทุกข้อบน Navigation Panel ที่อยู่ด้านขวามือและสามารถข้ามทำหรือย้อนกลับข้อใดก่อนหลังก็ได้ หรือหลังทำเสร็จสิ้นแล้วจะย้อนกลับมาทบทวนคำตอบตนเองก่อนกดส่งคำตอบก็ได้ Sequential Navigation ผู้สอบจะเห็นจำนวนข้อสอบทั้งหมดบน Navigation panel ด้านขวามือ แต่ไม่สามารถข้ามหรือย้อนกลับไปข้ออื่นได้ จะต้องทำข้อสอบตามลำดับเท่านั้น ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถลดโอกาสการทุจริตของผู้สอบได้ ทั้งนี้ในการเลือกตัวเลือกแบบ Free Navigation จะเป็นค่ามาตรฐาน (Default) ของระบบอยู่แล้ว อาจารย์ประจำวิชาสามารถเลือกให้เป็นแบบ Sequetial Navigation ได้เมื่อต้องการ ทั้งนี้ข้อจำกัดของการสอบแบบ Sequential คือ หากระหว่างทำข้อสอบอยู่นั้นเกิดมีเหตุการณ์ให้หยุดกระทันหันเช่น ไฟดับ หรือสัญญาณอินเตอร์เน็ตขาด ผู้สอบต้องกดปุ่ม Refresh หน้าสอบ ระบบจะข้ามข้อปัจจุบันไปโดยทันทีโดยไม่เห็บคำตอบ จึงเป็นเรื่องที่อาจารย์ผู้สอนต้องเข้าใจความเสี่ยงนี้และต้องย้ำกับนักศึกษาถึงการสอบลักษณะนี้ ทั้งนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งผู้อบรมการสอบออนไลน์ถึงความเสี่ยงในการใช้ข้อสอบแบบ Sequential แล้ว
2. ความแตกต่างระหว่างการสอบแบบออนไลน์ (Online Exam) กับแบบเดิม (Conventional Exam)ข้อความตัวเอน การสอบแบบออฟไลน์แบบที่ส่วนทะเบียนได้จัดตลอดมานักศึกษาสามารถมองเห็นข้อสอบทุกข้อ และเลือกทำข้อสอบข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้ นักศึกษาสามารถเปิดคำถามแต่ละหน้าได้ มีการจำกัดเวลา โดยดูจากนาฬิกาหน้าห้อง ผู้สอบสามารถตระหนักถึงบรรยากาศการสอบ ผู้คุมสอบและผู้สอบคนอื่นๆ ซึ่งแตกต่างจากการสอบแบบออนไลน์ที่ต่างคนต่างอยู่ในสถานที่แตกต่างกัน ไม่มีบรรยากาศการสอบ ไม่รู้สึกถึงผู้คุมการสอบ หรือคนสอบคนอื่นๆ เป็นหน้าที่ผู้สอบเองที่จะหาสถานที่และเครื่องมือที่เหมาะสมกับการสอบของตนเอง จะมีนาฬิกาจับเวลาให้เห็นเวลาที่เหลือ มี Navigation panel ให้เห็นว่าทำใกล้เสร็จแล้วหรือยัง ซึ่งคุณภาพของการสอบจะถูกจัดการเองโดยผู้เข้าสอบ โดยมีอาจารย์ประจำวิชาเป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ ลำดับการสอบที่ผู้สอบยอมรับและทำตามแบบไม่ต้องมีการติดตามใกล้ชิด
ลิ้ง Google Slide
https://docs.google.com/presentation/d/1a1hJzP9M5QtEnp2fdp6LwNSRc1DjJaaEoXy3Fv_DY6E/edit?usp=sharing
1a1hJzP9M5QtEnp2fdp6LwNSRc1DjJaaEoXy3Fv_DY6E